วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

รายงานผลการใช้คู่มือพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และศึกษาผลของการใช้คู่มือพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่เกิดกับผู้เรียนและความคิดเห็นของครูในการจัดการเรียนการสอนตามคู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทาง การเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 103 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ปีการศึกษา 2549 ในโรงเรียนเรียนร่วม 11 โรงเรียน จำนวน 22 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผู้บริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 11 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) และผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 22 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้คู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นครูผู้สอนเกี่ยวกับ การอบรมการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับคู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ แบบนิเทศติดตามการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ แบบนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาทาง การเรียนรู้ ผลการศึกษา พบว่า
1. คู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 มีประสิทธิภาพ 81.31 / 82.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ
80 / 80
2. ผลสัมฤทธิ์ครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หลังการใช้คู่มือสูงกว่าก่อนใช้คู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลของการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นโดยใช้คู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก
4. ผลการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้คู่มือการพัฒนาครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก
5. ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียน
การสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก